‘องค์ประกอบของดนตรี’ คือ ส่วนสำคัญซึ่งก่อเกิดเป็นดนตรีขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีในภาพรวม ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้ เสียง, ทำนอง, เสียงประสาน, จังหวะ รวมทั้งรูปแบบของดนตรี
เสียง (Tone)
สำหรับเสียง หรือ Tone นั้น จะมีความแตกต่างกันไปจากเสียง ซึ่งเรียกว่า Noise โดยลักษณะของการเกิดเสียงในลักษณะนี้ เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอ หากแต่ Noise เกิดมาจากการสั่นสะเทือนที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเสียงดนตรี ที่ได้มาจากการเป่า/ร้อง/ดีด/สี จะมาในลักษณะ Tone เนื่องจากการสั่นสะเทือนดำเนินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั่นเอง
ระดับเสียง (Pitch)
คือ ความสูง – ต่ำของเสียง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะก่อให้เกิดเสียงสูง หากแต่ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนช้า ก็จะทำให้เกิดเสียงต่ำ ซึ่งภายในหูของมนุษย์สามารถแยกเสียงได้ ตั้งแต่ระดับความถี่สั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที ถึง 20,000 ครั้ง / วินาที
สีสันของเสียง (Tone Color)
คือ ความแตกต่างของเสียง ที่มาจากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน ทางด้านการดนตรีแล้วก็มาจากการใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อีกทั้งยังรวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในบทเพลงหนึ่ง ถ้าขับร้องโดยผู้ชาย ผู้ฟังก็จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกแตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง เป็นต้น หรือ ทางด้านการบรรเลงดนตรี ถ้าเป็นการบรรเลงเพลงเดี่ยว ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือ มีความแตกต่างจากการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สำหรับลักษณะที่มีความแตกต่างกันนี้ ถูกเรียกว่าสีสันของเสียง โดยคุณสมบัติจำนวน 4 ประการของเสียง ที่นำมารวมกันก่อให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทำให้ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง สามารถสรุปได้ว่าเสียงดนตรีประกอบด้วย ต่ำ/สูง/สั้น/ยาว/เบา/ดัง นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงที่แตกต่างกันไป ตามแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด
ท่วงทำนอง (Melody)
สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ
เสียงประสาน (Harmony)
จัดเป็นองค์ประกอบของดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียง มากกว่า 1 เสียง สำหรับเสียงประสานจัดเป็นองค์ประกอบทางดนตรี ที่มีความซับซ้อนมากกว่าจังหวะหรือทำนองเสียอีก ทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความประณีตในการประพันธ์ หากแต่ถึงกระนั้นในบางวัฒนธรรม ก็อาจไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลยก็ได้ เช่น ดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเน้นในเรื่องของความเรียบง่าย และเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
จังหวะ (Rhythm)
ดนตรีทุกประเภทในโลกนี้ จะต้องประกอบด้วยความช้า – เร็ว ของจังหวะเพลง เช่น เพลงที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ก็จะมีจังหวะที่กระชับ รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามีความตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้ในการกล่อมเด็ก ซึ่งมีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัจจัยเรื่องเวลา จึงเป็นอีกปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย เช่น ความเร็วของจังหวะ / อัตราจังหวะ และจังหวะ
อย่างไรก็ตามสำหรับในวัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็ไม่ได้มีการแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ได้มีการระบุไว้ว่าจะต้องบรรเลงบทเพลงอย่างไร หากแต่ผู้บรรเลงก็สามารถกระทำอย่างสอดประสานกันได้ดี อันเนื่องมาจากมีความเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในบทเพลงเถาของประเทศไทย ผู้บรรเลงจะทราบว่าจะต้องมีการบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลงนั่นเอง จากความแตกต่างขององค์ประกอบทางดนตรีนี่เอง ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์มากมายขึ้นมา เมื่อฟังได้ฟังก็ทราบได้ทันทีว่าบทเพลงในลักษณะนี้เป็นแนวใด
สนับสนุนข้อมูลโดย : gclub เว็บไซต์เกมพนันคาสิโนออนไลน์ มั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้
คิดถึงการเดิมพันคาสิโน ด้วยเทคนิคการเดิมพันที่ยอดเยี่ยม สามารถสร้างโอกาสในการเอาชนะได้ 100%